วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม.

โครงการที่ 1

22 มีนาคม "วันอนุรักษ์น้ำโลก"

      แม้ว่าพื้นที่ 2 ใน 3 ของโลกจะเป็นน้ำ แต่ส่วนใหญ่เป็นน้ำเค็มที่พบได้ในทะเลและมหาสมุทร คิดเป็นร้อยละ 97.5 ส่วนอีกร้อยละ 2.5 เป็นน้ำจืด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งบริเวณแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์ รวมไปถึงน้ำใต้ดินที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ด้วย แหล่งน้ำจืดที่นำมาดื่มกินและนำมาใช้ประโยชน์ จึงได้มาจากทะเลสาป อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ และสำธาร ซึ่งมีจำนวนเพียงร้อยละ 0.26 ของน้ำจืดที่มีอยู่ทั้งหมด และน้ำจืดในปริมาณดังกล่าว ยังมีส่วนหนึ่งที่อยู่ในสภาพปนเปื้อนและมีสารพิษ ต้องทำการบำบัดก่อนนำมาใช้อีกด้วย 

      ในปัจจุบัน มีประชาชนเกือบ 1,400 ล้านคน ทั่วโลก ที่ขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับบริโภคและป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคอหิวาตกโรค ท้องร่วง ไข้รากสาดน้อย และโรคพยาธิต่างๆ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาด รวมทั้งมีสาเหตุมาจากพาหะนำโรค เช่น ยุง ซึ่งเป็นผลให้ในแต่ละปีมีประชากรเสียชีวิตประมาณ 5.3 ล้านคน หากไม่มีการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาอย่างจริงจังแล้ว จะส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต จากการบริโภคน้ำที่ไม่าละอาดมีจำนวนมากขึ้น อย่างไรก็ตามแม้จะมีความพยายามแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างเร่งด่วน แต่จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 6 พันล้านคน ในปัจจุบันส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำขึ้นได้ในอนาคต องค์การสหประชาชาติ ได้ตระหนักปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ในปี ค.ศ.1992 จึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันอนุรักษ์น้ำของโลก" (world day for water) โดยในแต่ละปีจะมีหน่วยงานในสังกัดองค์การสหประชาชาติรับผิดชอบในการจัดงาน

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน 

           1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค
           2. เพื่อเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์น้ำในรูปแบบต่างๆ
           3. เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลของแต่ละประเทศและหน่วยงานเอกชนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์น้ำให้มากขึ้น

      นอกจากนั้น องค์การสหประชาชาติยังได้กำหนดนโยบายการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน 5 ประการได้แก่

           1. การจัดการให้พื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำมากที่แตกต่างกันได้มีโอกาสใช้น้ำอย่างเท่าเทียมกัน
           2. การอนุรักษ์แหล่งน้ำ โดยพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อแหล่งน้ำ
           3. การควบคุมดูแลการใช้น้ำจากแหล่งต้นน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณการใช้น้ำของแหล่งปลายน้ำ
           4. การจัดการกับปัจจัยอื่นๆ โดยดูแลปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำ
           5. การจัดการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเหมาะสม 

      ในปี ค.ศ.1998 ที่ผ่านมา ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่พื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก เช่น จีน บังกลาเทศ และอินเดีย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์วันอนุรักษ์น้ำของโลก ในปี ค.ศ.1999 นี้ว่า "Everyone Lives Downstream" หรีอ "ชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับกระแสน้ำ" ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่าไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ใดก็ตามการดำรงชีวิตของมนุษย์ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของน้ำ และปัญหาของแหล่งน้ำที่เกิดขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ของมนุษย์ในวงกว้าง ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดงาน ได้แก่ โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP) 

      นอกจากนี้องค์การสหประชาชาติได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์ วันอนุรักษ์น้ำของโลก ในปี ค.ศ.2000 ไว้ว่า " Water for the 21" หรือ "น้ำเพื่อศตวรรษที่ 21" โดยมีองค์การยูเนสโกเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดงาน และในปี ค.ศ.2001 หัวข้อการรณรงค์ ได้แก่ "Water and Health" หรือ "น้ำและสุขภาพ" และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดงาน ได้แก่ องค์การอนามัยโลก


โครงการที่ 2

ครงการประกวดภาพถ่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ”


บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช 
จัดโครงการประกวดภาพถ่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ” มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 
เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยและ ประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ศึกษาเรื่องราวธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
โดยเฉพาะด้านสัตว์ป่า และป่าไม้ โดยใช้ภาพถ่ายเป็นสื่อ

วัตถุประสงค์

 1. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทย และประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้ สัมผัส เห็นคุณค่า และมีประสบการณ์ที่ดี
    ต่อทรัพยากรสัตว์ป่าและป่าไม้
2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสเผยแพร่ประสบการณ์ ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และเรื่องราวผ่าน
    ภาพถ่าย
3. เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดจิตสำนึก ความรัก ความรู้สึกหวงแหน ความเป็นเจ้าของทรัพยากร
    สัตว์ป่าและป่าไม้ร่วมกันของคนไทย
4. เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความต้องการมีส่วนร่วม ในการฟื้นฟู และเพิ่มจำนวนสัตว์ป่าและ
    ป่าไม้แก่แผ่นดิน
5. เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงคุณอนันต์ของสัตว์ป่าและป่าไม้ ในการช่วยคลายโลกร้อน
    และร่วมรณรงค์ให้ขยายผลสู่วงกว้าง

แนวคิดการถ่ายภาพ

ภาพป่าไม้ ต้องเป็นภาพที่สื่อและสะท้อนให้เห็นว่าป่าไม้นั้นช่วยแก้ปัญหา และลดภาวะโลกร้อนได้อย่างไร ซึ่งภาพที่ถ่ายอาจแสดงถึงความชุ่มชื้นของป่า ความอุดมสมบูรณ์ของป่า การที่ป่าเป็นตัวช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับโลกภาพสัตว์ป่า ต้องเป็นภาพที่สื่อและสะท้อนให้เห็นว่าสัตว์ป่ามีคุณค่า การที่ทรัพยากรธรรมชาติด้านสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ จะเป็นดรรชนีชี้วัดต่อทรัพยากรธรรมชาติของป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ด้วย ซึ่งสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน